10 ตุลาคม 2560

เพลง ในหลวงของปวงชน โดยครูเสริม

 
สถาบันศิลปะและดนตรี ครูเสริมกรุ๊ป กับผลงานถวายแด่องค์รัชกาลที่๙ ที่เสด็จลาวงลับ

12 กันยายน 2560

น้องแพร น้องพลอย พาเที่ยววัดพระแก้วดอนเต้าฯ

ไกด์อาสา น่ารักจากรายการ วัยใสวาไรตี้ ทีวีช่อง WiSH Channel จานดำ PSI ช่อง 68

30 พฤษภาคม 2560

ฟ้อนร่ำเปิงลำปาง งานรถไฟ รถม้าลำปาง คร้้งที่ 15

ฟ้อนร่ำเปิงลำปาง ชุมนุมจุมสะหรี วัดกู่คำลำปาง งานรถไฟ รถม้าลำปาง คร้้งที่ 15 เมษายน 2557


บันทึกครั้ง สัมนาเรื่องประวัติศาสตร์ ลำพูน 21 กันยายน 2548

กาลครั้งหนึ่ง ที่เมืองลำพูน


รายการ ศิลปินหรรษา ปีที่ 14 ตอนที่ 107-108

รายการทีวีที่จัดติดต่อกันมาร่วม 20 ปี ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 8 ลำปาง ซึ่งต่อมาคือช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ รายการนี้ได้ยุติไปเมื่อปี พ.ศ.2535
ศิลปินหรรษา ปที่ 14 ตอนที่ 107

ศิลปินหรรษาปีที่ 14 ตอนที่ 108

29 เมษายน 2555

ค้างโคมส่องธรรมทิพย์ช้างลำปาง







ค้างโคมส่องธรรมปงยางคกลำปาง  ศักดิ์ ส.รัตนชัย 


ประธานกลุ่มแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงปฏิบัติการ (มรดกโลก) ลำปาง ๑๓-๑๔ ก.ค.๒๕๔๖

 จิตรกรรมโคมส่องธรรมคู่ธรรมมาสน์วัดปงยางคกสมัยพ่อเจ้าทิพย์ช้าง 

 สื่อความหมายทางทัศนศิลป์ประวัติศาสตร์


๑ จองขันเทศน์คือภาษาพุทธบริษัทไทยพื้นเมืองหนเหนือโบราณก่อนคำว่าธรรมมาสน์ในความแตกต่างทางรูปแบบประเพณี หมายถึง ที่แสดงธรรมเทศนาในลักษณะอาสนคูหา ก่อนชาวเหนือจะรู้จักคำว่าธรรมมาสน์ในประเพนีถือพัดตาลปัตร์แสดงธรรมเทศนาบนอาสนสงฆ์ ซึ่งเริ่มจะมีมาสู่ภาคเนหือ ในกลางสมัยรัตนโกสินทร์

๒ คำว่าจอง(ชอง)กับอาสนะอาจจะมีความหมายเดียวกัน ในคำว่า “ที่นั่ง” แต่ต่างกันที่คำว่าจองหมายรวมถึงลักษณะคูหาห้องเช่นคำว่า “บ่อยู่บ้านอยู่จอง” หมายถึง “ไม่อยู่บ้านอยู่ช่อง “

๓ แต่ปัจจุบันจองขันเทศน์ทั้งรูปห้องบัลลังก์ปราสาท ทรงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม หรือแปดเหลี่ยม ยอดแหลมหรือปากบาล กลายเป็นโบราณวัตถุเชิงเก็บในวัดร่วมกลุ่มเครือลงโบสถ์ ต่อจากกลุ่มวัดในเครือลำปางหลวง-ปงยางคก -ไหล่หิน -ลำปางกลาง โบราณ ในเขตตำบลปงแสนทอง เช่นกลุ่ม วัดป่าตันกุม วัดป่ากล้วย วัดบ้านกาด วัดหนองห้าฝั่งตะวันตก วัดทุ่งกู่ด้าย วัดข่วงเปา วัดวัดนาน้อย กลุ่มวัดป่าตันกุมเมืองสมัยพระเจ้าหอคำ เคยรวมกลุ่มวัดกู่สี่ขันก่อนจะเป็นวัดร้าง แต่เราก็ค้นพบจองขันเต๊สน์ส้อหล้อแบบวัดปงยางคกอีกแห่งหนึ่งที่เมือง ที่วัดบ้านกล้วยอันเป็นจองขันเตสน์เก่าวัดป่าตันกุมเมือง

๔ ปฏิปทาสงฆ์หนเหนือและส่วนกลางยุค จองขันเทศน์ และยุคธรรมาสน์ ในยุคธรรมมาสน์ธรรมกถึกเทศนาถือตาลปัตร์ เราอาจกำหนดยุคสมัยธรรมมาสน์ตาลปัตร เพียงหลังสมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์ในยุคสุดท้ายในใบจารคัมภีร์สุวรรณหอคำ ความเป็นนครสัตตราชาเจื่องเจ้าอันเป็นเค้าอยู่ลานนา ร่วมเศวตรฉัตร รัชกาลที่ ๓ โดยปรากฏมีจอง ขันเทศน์แบบปงยางคก เริ่มแพร่ไปที่วัดป่าตันกุมเมือง สื่อความหมายทางทัศนศิลป์ประวัติศาสตร์ในพระวินัยภิกษุสงฆ์ในเสขิยวัตร หมวดสารูปที่บันญัติปกติวิสัยภิกษาพระภิกษุพึงทอดสายตาให้ต่ำลง แม้ในโภชนาปฏิสังยุต พระภิกษุพึงรับบิณฑบาทจักแลดูแต่ในบาตร

๕ ยุคสมัย รูปแบบธรรมมาสน์ แพร่สู่หนเหนือ บันทึกสมัยครูบาอโนชัยจินดามุนี(๒๓๘๙-๒๔๕๓) ได้มีการปุจฉาวิสัชนนา ๒ ธรรมมาสน์ระหว่างสมณปราชญ์ไทยหนเหนือและไทยใต้ที่มิได้ใช้จองขันเทศน์ คือยุคหัวเลี้ยวหัวต่อเกาะหลวงกลางเมืองสมัยหอคำนครลำปางเปลี่ยนเป็นวัดเกาะในกลุ่มวัดไทยใต้.

 สื่อศิลปะวัตถุแสดงองค์ความรู้ท้องถิ่นสู่สากล

ธรรมมาสน์และจองขันเทศน์ปงยางคกทรงลำโพงสะเสียง คือต้นแบบโดดเด่นในภาคเหนือมีอยู่ที่ลำปางคู่ลายแต้มวิหารเป็นเสาค้างโคมที่มีลักษณะพิเศษเหนือลักษณะโคมประดิษฐ ที่ไม่มีคติบูชาธาตุทั้งสี่ในอินเดีย ลังกา ทิเบต จีน พม่า ลาวเขมร แม้ในประเทศไทยภาคเหลืออยู่ที่นครลำปาง ค้นพบแบบค้นคำอธิบายได้โดยคนท้องถิ่น ชื่อ ศักดิ์ ส.รัตนชัย อดีตอาจารย์นิเทศภาคเหนือ สศว.ม.โยนก (ทุนสกว.) รายงาน