19 ธันวาคม 2553

ร่ำเปิงศิษย์ครูบาจิ่น 19 ธค 2553

ครูบาจิ่น

หนังสือประวัติ*ตำนานลำปางในชื่อเขลางค์นคร ลัมภกัปปะนคร กุกกุฏนคร นครลำปางในหนังสือต่างๆที่พอหาได้ ในวันพระราชทานเพลิงศพ พระเทพมงคลมุนี ณ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระอารามหลวง19 ธ.ค.2553 มีประวัติคำว่า ลานนาและคำว่า ล้านนา ทั้งสองอย่างตามที่มาของกลุ่มเอกสาร ชี้แจงได้ว่า
๑) ทวารวดี อุ ลานนา จากคำตำนานญาณคัมภีร์เถระ(ผู้นำคัมภีร์ อักขระ พระพุทธรูป มาจากลังกา ปางพรรษาสุดท้ายแห่งสังขารรับราชนิมนต์มาเป็นอธิบดีสงฆ์ที่วัดแสงเมืองมา เชื่อกันว่าหัวใจพระเจ้าแสนแซ่ทองคำสู่นครลำปางในวาระนี้ฯ)

๒) สัตตะราชาเจื่องเจ้าอันเป็นเค้าอยู่ลานนา อยู่ในธรรมใบลานสุวรรณหอคำ นครลำปาง คือ คำผ่านการตรวจอ่านแต่สมัยครูบาอินทวิชยาจารย์วัดคะตึกประธานชำระคำใบลานลำปางและครูบาจิ่นวัดน้ำล้อม ๒สมัยเจ้าคณะ จ.ลำปางตรวจอ่าน พร้อมคณะตรวจอ่านหอจดหมายเหตุและอธิบดีกรมศิลปากรได้มาดูใบลาน
๓) ล้านนาเชียงใหม่ มีในตอนท้ายตำนานญาณคัมภีร์ที่กล่าวถึงยุคเชียงใหม่เป็นล้านนา ตำนานนี้ช่วยชี้ให้เห็นว่า คำว่าลานนา ล้านนา มีทั้งสองอย่างในความหมายที่ต่างกัน ๔ คำว่า ล้านนา ๕๗ เมือง หมายถึงยุคที่ ๕๗ หัวเมืองสมัยรวมอาณาจักรผลัดตำแหน่งเมืองหลวงระหว่างเชียงใหม่ หลวงพระบาง และพม่า มีจารึกชัดเจนที่วัดจอมทอง ปี 2317 ไทยธนบุรี เจ็ดตนลำปางตีได้ เชียงใหม่ล้านนา สมัยอาณาจักรพม่าแผ่คลุมยุคลาวเชียงใหม่สืบ ยุคจารึกกษัตริย์ 2 แผ่นดินล้านช้าง ล้านนา พ.ศ.2096, ชาวลำปาง-แพร่ มิได้เป็นเจ้าของพงศาวดารล้านนา แต่เป็นเจ้าของพงศาวดาร สัตตราชาเจื่องเจ้าอันเป็นเค้าอยู่ลานนา...จากศิษย์ครูบาจิ่น รุ่นนวกะน้ำล้อม พ.ศ.2493
----------------------------------------------------------------------------------------------
ครูบาอินทจักรรักษา มรณภาพในยุค “ประวัติศาสตร์ลานนาไทย” ในยุควรรณกรรมกรุงรัตนโกสินทร์อดีตเจ้าคณะภาค ๕ ขอโปรดเกล้าพระราชทานเงินทุนชำระพระไตรปฎกฉบับ”ลานนาไทย”มิใช่ล้านนา
----------------------------------------------------------------------------------------------

ห่วงสัมพันธ์ เพื่อน้อมรำลึกแด่ดวงวิญญาณ ครูบาอินทจักรทักษา(พระสุธรรมยานเถระ) วัดวนารามน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง อ.เมืองเชียงใหม่

ชีวิตและวิญญาณของครูบาอินทจักรทักษา คือ ส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาวเมืองเหนือ ได้รับพระราชทาน พระไตรปิฎกฉบับลานนาไทย เป็นมิ่งขวัญของชาวลานนาไทยในภาคเหนือ แต่ก็ถูกพระเถระรุ่นหลังเปลี่ยนเป็นล้านนา”เพื่อสักการะดวงวิญญาณท่านใด?”




จากห่วงสัมพันธ์ข่าวเก่าฟื้นในไทยนิวส์ปี 2532
ตอบคำถาม เนื่องจากมิตรห่วงสัมพันธ์จากเชียงใหม่ ลำพูนขอให้ค้นประวัติความเป็นมาของพระไตรปิฎกที่วัดร่ำเปิงพิมพ์ มีมูลเหตุความเป็นมาอย่างไรเหตุใดไม่เรียกพระไตรปิฎก”ลานนาไทย” ดังที่เคยประกาศบอกบุญดังนี้
มูลเหตุเดิม เมื่อ พ.ศ.2514 ท่านครูบาอินทจักรรักษาวัดวนารามน้ำบ่อหลวง สันป่าตอง เชียงใหม่ อาพาธหนักด้วยโรคแทรกซ้อน กระดูกสันหลังอักเสบ มะเร็งในสมองอัมพาท ตามคำวินิจฉัยของแพทย์ อาการหนักเหลือแต่ลมหายใจ ศรัทธาจึงนำพานพระไตรปิฎกฉบับ ๑ มาวางบนพานดอกไม้อธิษฐานปวารณาว่า หากอาการหายคืนจะสร้างพระไตรปิฎกถวายบูชาแก้วทั้งสาม อาการของครูบาเจ้าก็หายอย่างประหลาด มหัศจรรย์
พระอุบาลีคณูปมาจารย์ เจ้าคณะภาค จึงได้ทูลเกล้าตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล000213135(3พ.ย.2516) แจ้งเรื่องการชำระเงินฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานทุนชำระพระไตรปิฎกเป็นเงิน 20,000 บาทเพื่อพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับลานนาไทยที่โปรดเกล้าพระราชทานทุนครั้งนี้ จึงมีมูลเหตุแห่งเรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิตและวิญญาณของครูบาอินทจักร และวิญญาณของพระอุบาลีคณูปมาจารย์แห่งลานนาไทย