29 เมษายน 2555

ค้างโคมส่องธรรมทิพย์ช้างลำปาง







ค้างโคมส่องธรรมปงยางคกลำปาง  ศักดิ์ ส.รัตนชัย 


ประธานกลุ่มแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงปฏิบัติการ (มรดกโลก) ลำปาง ๑๓-๑๔ ก.ค.๒๕๔๖

 จิตรกรรมโคมส่องธรรมคู่ธรรมมาสน์วัดปงยางคกสมัยพ่อเจ้าทิพย์ช้าง 

 สื่อความหมายทางทัศนศิลป์ประวัติศาสตร์


๑ จองขันเทศน์คือภาษาพุทธบริษัทไทยพื้นเมืองหนเหนือโบราณก่อนคำว่าธรรมมาสน์ในความแตกต่างทางรูปแบบประเพณี หมายถึง ที่แสดงธรรมเทศนาในลักษณะอาสนคูหา ก่อนชาวเหนือจะรู้จักคำว่าธรรมมาสน์ในประเพนีถือพัดตาลปัตร์แสดงธรรมเทศนาบนอาสนสงฆ์ ซึ่งเริ่มจะมีมาสู่ภาคเนหือ ในกลางสมัยรัตนโกสินทร์

๒ คำว่าจอง(ชอง)กับอาสนะอาจจะมีความหมายเดียวกัน ในคำว่า “ที่นั่ง” แต่ต่างกันที่คำว่าจองหมายรวมถึงลักษณะคูหาห้องเช่นคำว่า “บ่อยู่บ้านอยู่จอง” หมายถึง “ไม่อยู่บ้านอยู่ช่อง “

๓ แต่ปัจจุบันจองขันเทศน์ทั้งรูปห้องบัลลังก์ปราสาท ทรงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม หรือแปดเหลี่ยม ยอดแหลมหรือปากบาล กลายเป็นโบราณวัตถุเชิงเก็บในวัดร่วมกลุ่มเครือลงโบสถ์ ต่อจากกลุ่มวัดในเครือลำปางหลวง-ปงยางคก -ไหล่หิน -ลำปางกลาง โบราณ ในเขตตำบลปงแสนทอง เช่นกลุ่ม วัดป่าตันกุม วัดป่ากล้วย วัดบ้านกาด วัดหนองห้าฝั่งตะวันตก วัดทุ่งกู่ด้าย วัดข่วงเปา วัดวัดนาน้อย กลุ่มวัดป่าตันกุมเมืองสมัยพระเจ้าหอคำ เคยรวมกลุ่มวัดกู่สี่ขันก่อนจะเป็นวัดร้าง แต่เราก็ค้นพบจองขันเต๊สน์ส้อหล้อแบบวัดปงยางคกอีกแห่งหนึ่งที่เมือง ที่วัดบ้านกล้วยอันเป็นจองขันเตสน์เก่าวัดป่าตันกุมเมือง

๔ ปฏิปทาสงฆ์หนเหนือและส่วนกลางยุค จองขันเทศน์ และยุคธรรมาสน์ ในยุคธรรมมาสน์ธรรมกถึกเทศนาถือตาลปัตร์ เราอาจกำหนดยุคสมัยธรรมมาสน์ตาลปัตร เพียงหลังสมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์ในยุคสุดท้ายในใบจารคัมภีร์สุวรรณหอคำ ความเป็นนครสัตตราชาเจื่องเจ้าอันเป็นเค้าอยู่ลานนา ร่วมเศวตรฉัตร รัชกาลที่ ๓ โดยปรากฏมีจอง ขันเทศน์แบบปงยางคก เริ่มแพร่ไปที่วัดป่าตันกุมเมือง สื่อความหมายทางทัศนศิลป์ประวัติศาสตร์ในพระวินัยภิกษุสงฆ์ในเสขิยวัตร หมวดสารูปที่บันญัติปกติวิสัยภิกษาพระภิกษุพึงทอดสายตาให้ต่ำลง แม้ในโภชนาปฏิสังยุต พระภิกษุพึงรับบิณฑบาทจักแลดูแต่ในบาตร

๕ ยุคสมัย รูปแบบธรรมมาสน์ แพร่สู่หนเหนือ บันทึกสมัยครูบาอโนชัยจินดามุนี(๒๓๘๙-๒๔๕๓) ได้มีการปุจฉาวิสัชนนา ๒ ธรรมมาสน์ระหว่างสมณปราชญ์ไทยหนเหนือและไทยใต้ที่มิได้ใช้จองขันเทศน์ คือยุคหัวเลี้ยวหัวต่อเกาะหลวงกลางเมืองสมัยหอคำนครลำปางเปลี่ยนเป็นวัดเกาะในกลุ่มวัดไทยใต้.

 สื่อศิลปะวัตถุแสดงองค์ความรู้ท้องถิ่นสู่สากล

ธรรมมาสน์และจองขันเทศน์ปงยางคกทรงลำโพงสะเสียง คือต้นแบบโดดเด่นในภาคเหนือมีอยู่ที่ลำปางคู่ลายแต้มวิหารเป็นเสาค้างโคมที่มีลักษณะพิเศษเหนือลักษณะโคมประดิษฐ ที่ไม่มีคติบูชาธาตุทั้งสี่ในอินเดีย ลังกา ทิเบต จีน พม่า ลาวเขมร แม้ในประเทศไทยภาคเหลืออยู่ที่นครลำปาง ค้นพบแบบค้นคำอธิบายได้โดยคนท้องถิ่น ชื่อ ศักดิ์ ส.รัตนชัย อดีตอาจารย์นิเทศภาคเหนือ สศว.ม.โยนก (ทุนสกว.) รายงาน