27 กรกฎาคม 2554

Yonok online 27 กค 2554




 ปีที่ 41 ฉบับวันอังคาร 26 ก.ค. 2554
เสนอรายงานราชการ นสพ.สู่งานราชการก่อนสรุปมรดกโลกลำปาง




ตามข่าวปัญหาลำปาง 4 พ.ศ.5-6 ผวจ. เป็นอุปสรรคการพัฒนา โครงการภาคเหนือจังหวัดลำปางตามหัวข้อ เสนอรายงานราชการ นสพ.สู่รายงานราชการก่อนสรุปมรดกโลกลำปาง โดยลำดับภาพ 1-2-3 บนคือ นายอธิคม สุพรรณพงศ์ ผวจ.ลำปาง เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา 2 เรื่องระหว่างวันที่ 21-22ก.ค.2554 ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง เรื่อง การประชุมทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดลำปาง พ.ศ.2553-2556 ด้วยเอกสารหน้ากระเป๋า นครลำปางเป็นเลิศด้านเซรามิคและหัตถกรรมอุตสาหกรรม โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ฯ เอกสารแผนดำเนินการดำเนินงานโครงการเมืองต้นแบบ


จังหวัดลำปางได้มีหนังสือที่ ลป/0031/ว 2492 (15 มิย.2554)โดยนายสุวรรณ กล่าวสุนทรรองผวจ.ลำปาง เป็นประธานเปิดประชุมกิจกรรมเสวนาเครือข่ายด้านสื่อโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จังหวัดลำปาง ณ เอเชียลำปางโฮเต็ล 11 ก.ค.2554 ร่วมกับสำนักวัฒนธรรมจังหวัด ก่อให้เกิดการไหวตัวและรวมตัวของสื่อมวลชนที่จะต้องรับผิดชอบต่อบทบาทพัฒนาท้องถิ่นภาคเหนือ

จากภาพแถวล่างหน้าห้องการอบรมเชิงปฏิบัติการ(Workshop)โครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ ห้องเวียงคำ โรงแรมลำปางเวียงทอง 21-22 ก.ค.2554 ในภาคเสวองค์ประชุมก่อนสรุปรายงานเรื่องเมืองต้นแบบ มีเรื่องเพิ่งทราบกันว่า ได้มีการบริหารจัดการเป็นแผนสำเร็จรูป ให้อุตสาหกรรมเซรามิคลำปางจดทะเบียนเครื่องหมายตราไก่ จึงขอให้มีการทบทวนข้อมูล เอกสารรายงานการปฏิบัติข้อราชการของ องค์ กรอ.ใน เสียงโยนกClassic9 ปีที่ 31 ฉบับ320 เดือนธันวาคม 2546 ซึ่งมีรายงานพบแหล่งเตาเผา บ้านป่าเหียง ต.บ่อแฮ้ว ติดต่อ บ้านง้าวพิไชย ต.หนองหล่ม ห่างจากตัวเมืองลำปาง เขตติดต่อ อ.เมืองลำปาง เพียง 9 ก.ม.บนเส้นทางหลวงสายจามเทวีลำปางห้างฉัตรจากการค้นพบของคณะทำงานในองค์ กรอ.และข่าวแหล่งชุมชนเตาเผาโบราณลำปางค้นพบใหม่ คณะโครงการศิลปากร 7 ลำปาง-น่าน ถือเป็นแหล่งใหญ่คลุม 3 ตำบลใกล้ตัวเมือง พร้อมแสดงโบราณวัตถุหมายเลยทะเบียน261 ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ประวัติวัตถุจากเตาเวียงท่ากานร้าง ซึ่งทางลำปางมีหลักฐานเก่าแก่แสดงลักษณะการใช้สอยจากกรุโบราณ ชื่อ “ขันน้ำเผิ้งส่องหน้าพระเจ้า” โดยมีการพัฒนาลักษณะเมืองต้นแบบเซรามิคสมัยนครเขลางค์หริภุญไชย คือ “ขันน้ำเผิ้งส่องหนาพระเจ้า”เสนอเป็นงานเทิดพระเกียรติ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามภาพสุดท้ายการสร้างการ์ตูนบนผืนผ้ายาว 840 เมตรเฉลิมพระเกียรติ ลำปางมีการเขียนการ์ตูนภาพชุดเมืองเขลางค์ อาลัมพาง นครลำปาง ดอยเขางาม คำขวัญถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนามโดยมีรูปการ์ตูนถ้วยโถโอชามรามไหปากสองชั้นแบบ ขันน้ำเผิ้งส่องหน้าพระเจ้า ร่วมถ้วยตราไก่ด้วย การ์ตูนชุดงามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก ซึ่งจะเป็นภาพที่กระทรวงวัฒนธรรมและสมาคมนักการ์ตูนไทยจะได้ใช้ในงานเฉลิมพระเกียรติเทิดไท้องค์ราชันย์ 5 ธ.ค.2554 ด้วย

ในภาคสรุปการประชุมดังกล่าวข้างต้น ในปีเทิดไท้องค์ราชันย์ปี 2554 นี้ ขอให้จังหวัดปรับแผนบริการจัดการเรื่องเซรามิคลำปาง ที่ได้ลงทุนลงแรงและงบดูงานเซรามิคเกาหลี โดยได้ติดต่อทีมงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ อาจารย์ ดร.พงศ์พันธ์ อนันทวณิชย์ รศ.ดร.อรพินพร์ พานทอง ในคณะวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จำนวน 5 ท่านในปี 2546 สืบการไปดูงาน บูรณาการCEOโครงการยุทธฯยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวแบบบ้านพี่เมืองน้อง ซิสเตอร์ซิตี้ ที่ประเทศเกาหลี พ.ค.2549 โดย ศ.ดร.สมบัติ กาญจนกิจ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ประสานโครงการ ให้ จังหวัดลำปางสมัย รอง ผวจ.เจริญสุข ชุมศรี นำทีมลำปางครั้งนี้ ในภาคสรุปการสัมมนาหัวข้อเมืองต้นแบบเศรษฐกิจลำปาง ให้ทบทวนเงื่อนไขสำคัญในสถานภาพจังหวัดลำปางกับรัฐบาล “4 พ.ศ. 5-6 ผวจ.” เพื่อศึกษาปัญหาเมืองต้นแบบเซรามิคลำปาง จะเป็นแค่ตราไก่ รุ่นปี 2500 กับต้นแบบ เมืองเขลางค์ อาลัมพาง แต่พุทธศตวรรษที่ 13 ร่วมเฉลิมพระเกียรติปี แสดงผลสรุปด้วยบริบทโครงการจากทีมงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปี 2546 ที่เป็นตัวตนแห่งศูนย์เซรามิคลำปางเป็นลำดับมาด้วย