8 พฤศจิกายน 2551

4 ร่ำเปิงกิจกรรม ระบำตำนานปั่นฝ้าย จุมสะหรี TV8รุ่นแรก

รายการ ศิลปินหรรษา TV 8
บทเรียน คำเมือง ทักษะ ก กา บาลีไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ISBN974416-495-68 ; "คำเมือง"เล่ม ๑ อักขรธัมม์เฮียนเวยฺยเอาคนเดียว ๑๒ -ขั้นตอนการผลิตสิ่งทอ

บทเพลง "ระบำตำนานปั่นฝ้าย"ทำนองเก่าปั่นฝ้าย คำร้องคำเมือง-ท่ารำ ศักดิ์ ส.รัตนชัย
---00000---


(อื่อ.............) (๑)ดอกฝ้ายอีดนีดเม็ดใน เหลือเป๋นปุยไก้สีสุ่นบุ่นตุ่นขาว

ก๋งยิงปิงปาวปุ๊ดี ก๋งยิงปิงปาวปุ๊ดี กิ๊กเป๋นหางสำลี มาจั๋บเผี่ยนผั้นปั่นฝ้าย

(๒)ปั๋นฝ้ายเข้าแก๋นเหล็กไน เผียหื้อเป็นใจ๋แล้วเอาลงใส่หม้อต้ม

ย้อมสีแล้วเอามาตี๋จ๋นยม (ตบๆ)ย้อมสีแล้วเอามาตี๋จ๋นยม

แจ้สมน้ำเข้า(ข้าว) บิดฮูดขึ้นตากยอยฮาว

(๓) ไจ๋ฝายย้อมสีงามเลาเอามากวั๋กแล้วโว้นกั๋บหลักสอดสี

เลือกลายตี้มันเหมาะกั๋บกี่ตอ เลือกลายตี้มันเหมาะกั๋บกี่ตอ

เข้าฟืมหูกต่อแล้วตอเป๋นผืนผ้าฮำ

(๔) อีดยิงกิ๊กปั่นเผียโว้น ต้มตากกวั๋กโว้นเข้าฟืมตอ

ปั่นฝ้ายตอเป๋นผ้าซาวฮำ ปั่นฝ้ายตอเป๋นผ้าซาวฮำ

มาฟ้อนฮ่อนละนำ ขาดกาดกองลี ต๊ะต่อนยอน ต๊ะต้อนยอน

ต๊ะตอนยอน ต้อนยอน ต้อนยอน (อื่อ....................................)

(ซ้ำท่อนส่งจบ) อีกยิงกิ๊กปั่นเผียโว้นต้มตากกวั๋กโว้นเข้าฟืมตอ

ปั่นฝ้ายตอเป๋นผ้าซาวฮำ ปั้นฝ้ายตอเป๋นผ้าซาวฮำ

มาฟ้อนฮ่อนละนำขาดกาดกองลี มาฟ้อนฮ่อนละนำขาดกาดกองลี.

ฟ้อนค้างสไบบูชาบายสรี ณ ค้างวัดกู่ขาวร้าง รับกฐินกู่คำ



ต้นแบบการฟ้อนซอ ชุดระบำตำนานปั่นฝ้าย ได้รับสิ่งดลใจจากการพบจิตรกรรมฝาผนังวัดนาแส่ง
ต.นาแส่ง อ.เกาะคา จ.ลำปาง จึงกำหนดให้รำนับจากซ้าย คือนาแส่ง ๑ คู่รำด้านขวาคือนาแส่ง ๒
ระบำตำนานปั่นฝ้าย ได้แบ่งเป็น ๑๒ ขั้นตอนของการประดิษฐ์สิ่งทอ
คือ ๑/อีด ๒/ยิง ๓/กิ๊ก ๔/ปั่น ๕/เฝีย ๖/โว้น ๗/ต้ม ๘/ตาก
๙/กวัก ๑๐/โว้น(แบบ๒) ๑๑/เข้าฟืม ๑๒/ทอ.

---00000---

ผู้รำต้นแบบ นางสาวนงนุช เกตุวงศ์ (โรงเรียน ประชาวิทย์) ตำแหน่งท่ารำนาแส่ง ๑

นางสาวดวงนภา (แอร์) เผ่ากันต๊ะ (มหาวิทยาลัยโยนก) ตำแหน่งท่ารำนาแส่ง ๒

คำร้อง แบบท่ารำ ฝึกซ้อม ; อาจารย์ ศักดิ์ ส รัตนชัย มหาวิทยาลัยโยนก

ท่าฟ้อนปิงปาว ที่แปลว่าแพรวพราวของคู่รำ นงนุช ณ TV8



นงนุช - ดวงนภา ในท่าเผียไหม
















ท่ากว็กฝ้ายต่อจากท่าฟ้อนสาวขุมตีน
คือท่ากวัก (ตระหวัด) แวดเกล้า

นาฏลีลา ท่าฟ้อนปั่นฝ้ายระหว่างคู่รำท่านาแส่ง 1 และท่านาแส่ง 2


นงนุช -ดวงนภา ในท่าสาวตีน ระบำตำนานปั่นฝ้าย


ขบวนรำพลอง ดาบเจิง ฟ้อนแง้น ตามศิลปะเมืองเหนือ คณะเด็กจุมสะหรีรุ่นแรก ในโอกาสไปแสดง
ที่ประชุมใหญ่ไลออนส์ภาคที่จังหวัดชลบุรี ขณะผ่านตาคณะกรรมการตัดสินการประกวดรถไลออนส์



ดวงนภา เผ่ากันต๊ะ ท่ารำนาแสง 1 นงนุช เกตุวงศ์ ท่ารำ นาแส่ง 2 พร้อมหางแถวรุ่น ด.ญ.สมพรและเพื่อนเด็ก
จุมสะหรีวัด กู่คำ รุ่นแรก ในฉากจบอันสวยงาม ณ TV8 รุ่นแรก
ร่ำเปิงกิจกรรมจุมสะหรี TV8 รุ่นแรก โดย รายการศิลปินหรรษา ของสมาคมเพื่อการรักษาวัฒนธรรม(สรสว.)สาขา ประจำจังหวัดลำปาง
ร่วมกับศูนย์ประชาสัมพนธ์เขต 3 ลำปาง คณะข่วงเจิงจุมสะหรีเริ่มมีแต่ปีก่อตั้งวันแม่แห่งชาติ พ.ศ.2536


ชมรมจุมสะหรีข่วงเจิงวัดกู่คำ เริ่มขึ้นขันครูเจิง แต่วันพฤหัสบดีวันแม่แห่งชาติ พ.ศ.2536 ท่าฟ้อนระบำตำนานปั่นฝ้ายเป็นท่ารำต่อจากท่ารำ ล่องสะเปายี่เป็ง เด็กนักเรียนข่วงเจิงจุมสะหรีรุ่นแรก เป็นเด็กยาก

จนและด้อยโอกาส อยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียง วัดกู่คำ ทางวัดได้จัดซื้อเสื้อผ้าสไบผ้าถุงซิ่นฝึกการฟ้อนรำ

รับองค์กระฐินสามัคคีเพื่อช่วยวัดระหว่างมีคดีความต่อสู้กับจำเลยที่มาบุกรุกที่ดินวัดโดยมีสมาคมเพื่อการรักษาสมบัติวัฒนธรรม(สรสว.)ประจำจังหวัดลำปาง
อุปถัมภ์รายการแสดงต่างๆจวบกระทั่งเด็กลูกชาวบ้าน
ละแวกวัดกู่คำเป็นช่างฟ้อนรับองค์กฐินได้


คณะนี้ได้ฝึกลีลาท่ารำแบบพื้นบ้านขึ้นขันครูเจิงรำดาบรำพลอง ออกรายการโทรทัศน์และการแสดงในต่างจังหวัดที่ชลบุรีเป็นครั้งแรก เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้มีโอกาสเห็นทะเล เล่นน้ำทะเลเด็กช่างฟ้อนรุ่นนี้ ได้ฝึกวินัยตามแบบครูนาฏศิลป์ ปัจจุบันได้ทำงานประกอบอาชีพ บ้างก็จบปริญญารับราชการ ต่างมีอดีตประวัติที่ภูมิใจว่า ได้เป็นศิษย์วัดห่างชุมชนที่ยากจนที่มีโอกาสสร้างชื่อเสียงแก่วัดกู่คำทั้งมีโอกาสสัมพันธ์กับเพื่อนเรียนนาฏศิลป์จากในตัวเมืองและต่างอำเภออีกด้วย .





กสาสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส










3.1 ร่ำเปิงกิจกรรม ระบำล่องสะเปายี่เป็ง TV8 รุ่นแรก

3.1 ร่ำเปิงป๋ากิจกรรม ระบำล่องสะเปายี่เป็ง TV8 รุ่นแรก


ค่ำว่าป๋าเวณีล่องสะเปายี่เป็ง ; ป่าเวณีล่องสะเปายี่เป็ง หมายถึงประเพณีไหลเรือไฟเพ็ญเดือน ๑๒ เกณ์นับเดือนของชาวภาคเหนือตอนบน มากกว่าเกณฑ์นับเดือนของชาวภาคกลาง ๒ เดือน เพ็ญเดือน ๑๒ ภาคกลาง ภาคเหนือ นับเป็นเดือนยี่ของชาวภาคเหนือตอนบน

ความแตกต่างของคติประเพณี; ความแตกต่างระหว่างคำว่า ล่องสะเปา กับลอยกระทง ศึกษาได้จากบทเพลงล่องสะเปายี่เป็งภาษาคำเมือง และบทถอดความหมาย ดังนี้

"ล่องสะเปาฮีตเก่าเฮามี ป๋าเวณีไหลไฟ ตานไปตวยสายน้ำ
ปล่อยว่าวไฟมาบเม็บเมืองบน หนตางเตียวเมืองลุ่มคึล้ำหนุ่มสาวฟ้อนแอ่นแล่นรำ
พ่องก๋ำโกมสายยี่เป็ง"

"ไหลประทีปเรือไฟ จารีตเก่าเรามี ประเพณีไหลไฟ ทาน (อุทิศ) ไปทางสายน้ำ
ปล่อยวาวโคมไฟแสงกระพริบเมืองบน ถนนคนเดิมเมืองล่างครึกครึ้นล้ำ หนุ่มสาวฟ้อน
อ่อนเอว บ้างถือโคมสายเพ็ญเดือนสิบสอง"

คติล่องสะเปา กับลอยกระทง ; ต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ พิธีล่องสะเปาคือแผ่ผลอุทิศทาน
แด่ผู้ล่วงลับ ต่างกับพิธีลอยกระทงโดยถือตำนานนิทานนาง นพมาศสุโขทัยอธิษฐานในพุทธคุณบูชาแม่พระคงคา ถือเป็นการทำบุญ

ฉนั้นจึงกล่าวคติประเพณีทั้งสองนี้ ในเบื้องต้นว่า การล่องสะเปาคือการทำทาน
ส่วนการลอยกระทงคือการทำบุญ คติประเพณียี่เป็ง ในท้องถิ่นที่ไกลแม่น้ำ ยังทำพิธีปล่อยโคมลอย ที่ประเพณีปล่อยโคมลอยยี่เป็งชาวเนินเขาที่อำเภอแจ้ซ้อน

สมัยคุ้มหลวง ; คติประเพณีล่องสะเปาในสมัยพ่อเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางสุดท้าย คือจัดดาสะเปาหลวง ทำเป็นรูปเรือที่หน้าคุ้ม ในเรือมีข้าวปลาอาหารและ
รูปปั้นทาสีทาสาช้างม้าวัวควาย สะเปาหลวงสร้างเป็นรูปเรือเดินทะเล มีเสากระโดง มีโคมร้อย เป็นโคมราวเล็กๆ พ่อเจ้าจะกระทำพิธีสระเกล้าดำหัวลงในสะเปาก่อนพิธีแห่สะเปาหลวง ข้าราชบริพารและชาวเมืองนำสะเปาน้อย ตามแห่เป็นขบวนจากคุ้มหลวงลงที่ท่าน้ำ ท่าช้างเผือก(หลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางปัจจุบัน)ราษฏรฝั่งแขวงเวียงเหนือต่างก็ถือสะเปาน้อยร่วมลอยพร้อมกันสองฝั่งแม่น้ำพ่อเจ้าโปรดประเพณีล่องสะเปา ถึงกับตั้งชื่อธิดา ๒ องค์ว่า เจ้าหญิงสะเปาแก้ว และเจ้าหญิงสะเปาคำ (คำบอกเจ้าหญิงบุษบง)

ล่องสะเปา เดือนอ้ายบ้านสะเปา ; ที่บ้านสะเปามีตำนานเคยมีเรือมาเกยตื้นที่เด่นสะเปา
สืบประเพณี ล่องสะเปาเดือนอ้าย (เดือน 11) มีคำอุปโหลกการปล่อยสะเปาอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ แบบผลัดมื้อระหว่างชาวบ้านลำปางกลาง ระหว่างเดือนยี่เป็งมาร่วมพิธีในตัว
เมือง ประเพณีไหลเรือไฟเดือน ๑๑ ของชาวบ้านสะเปาลำปางตรงกับประเพณีภาคอีสาน

ตำนานล่องสะเปา ; ตำนานล่องสะเปาสืบแต่ประเพณีหริภุญไชย ในหนังสือชินกาลมาลิณี กล่าวถึงสมัยกษัตริย์จุเรนทราชทิ้งเมืองหริภุญไชยด้วยโรคห่าระบาด เป็นเมืองร้าง 6 ปี
ไปที่เมืองสะเทิม ครั้นกลับมาชวนชาวเมืองร่วมทำพิธีลอยโขมด(ประทีปไฟ)เป็นประเพณี

การเสื่อมหาย ; เหตุที่ประเพณีลอยโขมดหายไปจากหริภุญไชย เหลือที่นครลำปาง โดยประวัติศาสตร์เมืองลำพูน และเชียงใหม่หลังศึกไทยรบพม่ากลายเป็นเมืองร้าง ทางนครลำปางยุคเจ้าเจ็ดตนต้องบูรณะเมืองร้างโดยพลเมืองรุ่นแรก เป็นชาวลำปางจำนวน 500 คน โดยพลเมืองส่วนใหญ่นั้นได้กวาดต้อนชาวยองจากเมืองยองมาเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ในลำพูนสืบปัจจุบัน นอกจากนั้นชาวลำปางที่ไปตั้งลำพูน ยังไปบูรณะพร้อมไปตั้งรกรากเป็นพลเมืองเชียงแสนร้างจำนวน 500 คนสืบเป็นพลชาวเชียงแสนส่วนใหญในปัจจุบัน

ความโดดเด่น ; ตำนานล่องสะเปาที่เหลือในจังหวัดลำปางนับเป็นประเพณีโดดเด่นในภาค
เหนือตอนบน ที่สืบประเพณีนี้มาคู่พงศาวดารเมืองมากว่าพันปี โดยแบ่งเป็นประเพณีทำทานทางแม่น้ำอุทิศส่วนกุศลทำบุญแก่ผู้ล่วงลับ โดยทางอุบาสกอุบาสิกาจะบำเพ็ญบุญ ฟังเทศน์สมัยก่อนมีการสร้างพระพุทธรูปไม้ยี่เป็ง ตามวัดสำคัญเช่นวัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดป่าตันกุมเมือง ความสำคัญระดับภาคเหนือคือเจ้าราชวงศ์เจ็ดตนทั้งลำพูน เชียงใหม่ เชียงรายลำปางร่วมทำบุญมหาทานปางใหญ่แต่แต่สมัยพระเจ้ากาวีระนครเชียงใหม่



เสียงโยนก Classic ปีที่ 31 ฉบัย 319 พฤศจิกายน 2546
ฉบับประวัติตำนานล่องสะเปายี่เป็งนครลำปาง



โน้ตเพลง ล่องสะเปายี่เป็ง


โน้ตเพลงล่องสะเปายี่เป็งนี้ ได้ประพันธ์ขึ้นทั้งการร้องเดี่ยวหรือการร้องหมู่แนวคอรัสประกอบระบำชุดล่องสะเปา หรือฟ้อนสไบไหลสะเปา ประพันธ์เนื้องร้องทำนองและประกอบท่าระบำ แสดงครั้งแรกในรายการศิลปินหรรษา พ.ศ.2531 สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ลำปาง สะเปากาบกล้วย ; ตัวอย่างสำเปากาบกล้วย ประดิษฐรูปสะเปาลอยน้ำ ด้วยวัสดุธรรมชาติ ของเทศบาลนครลำปาง ปี 2550(ภาพจากแผนกประชาสัมพันธ์เทศบาลนครลำปาง)

" สะเปาบ่ากล้วยเตศยี่เป็ง" ; สะเปากล้วยเทศหรือมะละกอ กล้วยสะเปาก็เรียก เป็นสะเปาเปลือกมะละกอ แต่ละใบผ่าซีกเป็นสะเปาแฝด ภาพสะเปาบ่ากล้วยเต้ศยี่เป็น ของนักเรียนนาฏศิลป์ ร.ร.เทศบาลนครลำปาง พ.ศ.2545
สะเปาตามรูปแบบฝีมือประดิษฐพื้นบ้านลำปาง เมื่อ ปี 2526 ยุคเพลงล่องสะเปายี่เป็ง

สะเปารูปหัสดีลิงค์ข่วงเจิงจุมสะหรีวัดกู่คำ เทิดทูนความหมายหัสดีลิงค์ คือรูปนกหัสดีลิงค์คู่พงศาวดารพระฤาษีสร้างเมืองหริภุญไชย เขลางค์นำรูปแบบหอยสังข์มาสร้างเมือง มีนิยายธรรมเรื่องหงส์หินของพญาโลมะวิสัยบรรยายลักษณะหงส์หินมีงวงมีกวัดแกว่ง ในขบวนมีเพลงประกอบนาฏลีลา ฟ้อนล่องสะเปาและหงส์หินนิยายธรรมคำเมืองที่มีคติสอนใจ องค์ประกอบแห่งขบวนที่บ่งบอกความเป็นศิลปะวัฒนธรรมประจำถิ่นของนครลำปางโดยมีเนื้อร้องเพลงว่า


"นิยายเรื่องหงส์ผาคำบอกออกในธรรมหงส์หินลำปาง(ดนตรี) เป๋นนกมีหัวเป๋นจ๊างป๋กปือหางงว้ายเหงี่ยงงวงงาม
ไต่ปุยเมฆขาวฮ่ามเฮืองเหาะฮายอว่ายหน้า ซานเจ้าย่ามาเมืองก๋างปีกเหิงฝัดผัดมน
ตี่ปีกวีบนจ้อติพย์กวรเมือง (ดนตรี) ไก๋สรออนอ่อนซอนเหลือง
หงส์ฮ่อนเมือเมืองจ๋อมเจื่องสยองบิน หมู่มวลเตวดาอินตา ฟ้อนจุมจุ้มหล้าฟ้อนแอ่นแหง้นแหม้นดาว"
( ทำนองเก่าปุ่มเป้ง บทร้อง ศักดิ์ ส.รัตนชัย )