ค่ำว่าป๋าเวณีล่องสะเปายี่เป็ง ; ป่าเวณีล่องสะเปายี่เป็ง หมายถึงประเพณีไหลเรือไฟเพ็ญเดือน ๑๒ เกณ์นับเดือนของชาวภาคเหนือตอนบน มากกว่าเกณฑ์นับเดือนของชาวภาคกลาง ๒ เดือน เพ็ญเดือน ๑๒ ภาคกลาง ภาคเหนือ นับเป็นเดือนยี่ของชาวภาคเหนือตอนบน
ความแตกต่างของคติประเพณี; ความแตกต่างระหว่างคำว่า ล่องสะเปา กับลอยกระทง ศึกษาได้จากบทเพลงล่องสะเปายี่เป็งภาษาคำเมือง และบทถอดความหมาย ดังนี้
"ล่องสะเปาฮีตเก่าเฮามี ป๋าเวณีไหลไฟ ตานไปตวยสายน้ำ
ปล่อยว่าวไฟมาบเม็บเมืองบน หนตางเตียวเมืองลุ่มคึล้ำหนุ่มสาวฟ้อนแอ่นแล่นรำ
พ่องก๋ำโกมสายยี่เป็ง"
"ไหลประทีปเรือไฟ จารีตเก่าเรามี ประเพณีไหลไฟ ทาน (อุทิศ) ไปทางสายน้ำ
ปล่อยวาวโคมไฟแสงกระพริบเมืองบน ถนนคนเดิมเมืองล่างครึกครึ้นล้ำ หนุ่มสาวฟ้อน
อ่อนเอว บ้างถือโคมสายเพ็ญเดือนสิบสอง"
คติล่องสะเปา กับลอยกระทง ; ต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ พิธีล่องสะเปาคือแผ่ผลอุทิศทาน
แด่ผู้ล่วงลับ ต่างกับพิธีลอยกระทงโดยถือตำนานนิทานนาง นพมาศสุโขทัยอธิษฐานในพุทธคุณบูชาแม่พระคงคา ถือเป็นการทำบุญ
ฉนั้นจึงกล่าวคติประเพณีทั้งสองนี้ ในเบื้องต้นว่า การล่องสะเปาคือการทำทาน
ส่วนการลอยกระทงคือการทำบุญ คติประเพณียี่เป็ง ในท้องถิ่นที่ไกลแม่น้ำ ยังทำพิธีปล่อยโคมลอย ที่ประเพณีปล่อยโคมลอยยี่เป็งชาวเนินเขาที่อำเภอแจ้ซ้อน
สมัยคุ้มหลวง ; คติประเพณีล่องสะเปาในสมัยพ่อเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางสุดท้าย คือจัดดาสะเปาหลวง ทำเป็นรูปเรือที่หน้าคุ้ม ในเรือมีข้าวปลาอาหารและ
รูปปั้นทาสีทาสาช้างม้าวัวควาย สะเปาหลวงสร้างเป็นรูปเรือเดินทะเล มีเสากระโดง มีโคมร้อย เป็นโคมราวเล็กๆ พ่อเจ้าจะกระทำพิธีสระเกล้าดำหัวลงในสะเปาก่อนพิธีแห่สะเปาหลวง ข้าราชบริพารและชาวเมืองนำสะเปาน้อย ตามแห่เป็นขบวนจากคุ้มหลวงลงที่ท่าน้ำ ท่าช้างเผือก(หลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางปัจจุบัน)ราษฏรฝั่งแขวงเวียงเหนือต่างก็ถือสะเปาน้อยร่วมลอยพร้อมกันสองฝั่งแม่น้ำพ่อเจ้าโปรดประเพณีล่องสะเปา ถึงกับตั้งชื่อธิดา ๒ องค์ว่า เจ้าหญิงสะเปาแก้ว และเจ้าหญิงสะเปาคำ (คำบอกเจ้าหญิงบุษบง)
ล่องสะเปา เดือนอ้ายบ้านสะเปา ; ที่บ้านสะเปามีตำนานเคยมีเรือมาเกยตื้นที่เด่นสะเปา
สืบประเพณี ล่องสะเปาเดือนอ้าย (เดือน 11) มีคำอุปโหลกการปล่อยสะเปาอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ แบบผลัดมื้อระหว่างชาวบ้านลำปางกลาง ระหว่างเดือนยี่เป็งมาร่วมพิธีในตัว
เมือง ประเพณีไหลเรือไฟเดือน ๑๑ ของชาวบ้านสะเปาลำปางตรงกับประเพณีภาคอีสาน
ตำนานล่องสะเปา ; ตำนานล่องสะเปาสืบแต่ประเพณีหริภุญไชย ในหนังสือชินกาลมาลิณี กล่าวถึงสมัยกษัตริย์จุเรนทราชทิ้งเมืองหริภุญไชยด้วยโรคห่าระบาด เป็นเมืองร้าง 6 ปี
ไปที่เมืองสะเทิม ครั้นกลับมาชวนชาวเมืองร่วมทำพิธีลอยโขมด(ประทีปไฟ)เป็นประเพณี
การเสื่อมหาย ; เหตุที่ประเพณีลอยโขมดหายไปจากหริภุญไชย เหลือที่นครลำปาง โดยประวัติศาสตร์เมืองลำพูน และเชียงใหม่หลังศึกไทยรบพม่ากลายเป็นเมืองร้าง ทางนครลำปางยุคเจ้าเจ็ดตนต้องบูรณะเมืองร้างโดยพลเมืองรุ่นแรก เป็นชาวลำปางจำนวน 500 คน โดยพลเมืองส่วนใหญ่นั้นได้กวาดต้อนชาวยองจากเมืองยองมาเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ในลำพูนสืบปัจจุบัน นอกจากนั้นชาวลำปางที่ไปตั้งลำพูน ยังไปบูรณะพร้อมไปตั้งรกรากเป็นพลเมืองเชียงแสนร้างจำนวน 500 คนสืบเป็นพลชาวเชียงแสนส่วนใหญในปัจจุบัน
ความโดดเด่น ; ตำนานล่องสะเปาที่เหลือในจังหวัดลำปางนับเป็นประเพณีโดดเด่นในภาค
เหนือตอนบน ที่สืบประเพณีนี้มาคู่พงศาวดารเมืองมากว่าพันปี โดยแบ่งเป็นประเพณีทำทานทางแม่น้ำอุทิศส่วนกุศลทำบุญแก่ผู้ล่วงลับ โดยทางอุบาสกอุบาสิกาจะบำเพ็ญบุญ ฟังเทศน์สมัยก่อนมีการสร้างพระพุทธรูปไม้ยี่เป็ง ตามวัดสำคัญเช่นวัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดป่าตันกุมเมือง ความสำคัญระดับภาคเหนือคือเจ้าราชวงศ์เจ็ดตนทั้งลำพูน เชียงใหม่ เชียงรายลำปางร่วมทำบุญมหาทานปางใหญ่แต่แต่สมัยพระเจ้ากาวีระนครเชียงใหม่
เสียงโยนก Classic ปีที่ 31 ฉบัย 319 พฤศจิกายน 2546
ฉบับประวัติตำนานล่องสะเปายี่เป็งนครลำปาง
โน้ตเพลง ล่องสะเปายี่เป็ง
โน้ตเพลงล่องสะเปายี่เป็งนี้ ได้ประพันธ์ขึ้นทั้งการร้องเดี่ยวหรือการร้องหมู่แนวคอรัสประกอบระบำชุดล่องสะเปา หรือฟ้อนสไบไหลสะเปา ประพันธ์เนื้องร้องทำนองและประกอบท่าระบำ แสดงครั้งแรกในรายการศิลปินหรรษา พ.ศ.2531 สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ลำปาง สะเปากาบกล้วย ; ตัวอย่างสำเปากาบกล้วย ประดิษฐรูปสะเปาลอยน้ำ ด้วยวัสดุธรรมชาติ ของเทศบาลนครลำปาง ปี 2550(ภาพจากแผนกประชาสัมพันธ์เทศบาลนครลำปาง)
" สะเปาบ่ากล้วยเตศยี่เป็ง" ; สะเปากล้วยเทศหรือมะละกอ กล้วยสะเปาก็เรียก เป็นสะเปาเปลือกมะละกอ แต่ละใบผ่าซีกเป็นสะเปาแฝด ภาพสะเปาบ่ากล้วยเต้ศยี่เป็น ของนักเรียนนาฏศิลป์ ร.ร.เทศบาลนครลำปาง พ.ศ.2545
สะเปารูปหัสดีลิงค์ข่วงเจิงจุมสะหรีวัดกู่คำ เทิดทูนความหมายหัสดีลิงค์ คือรูปนกหัสดีลิงค์คู่พงศาวดารพระฤาษีสร้างเมืองหริภุญไชย เขลางค์นำรูปแบบหอยสังข์มาสร้างเมือง มีนิยายธรรมเรื่องหงส์หินของพญาโลมะวิสัยบรรยายลักษณะหงส์หินมีงวงมีกวัดแกว่ง ในขบวนมีเพลงประกอบนาฏลีลา ฟ้อนล่องสะเปาและหงส์หินนิยายธรรมคำเมืองที่มีคติสอนใจ องค์ประกอบแห่งขบวนที่บ่งบอกความเป็นศิลปะวัฒนธรรมประจำถิ่นของนครลำปางโดยมีเนื้อร้องเพลงว่า
"นิยายเรื่องหงส์ผาคำบอกออกในธรรมหงส์หินลำปาง(ดนตรี) เป๋นนกมีหัวเป๋นจ๊างป๋กปือหางงว้ายเหงี่ยงงวงงาม
ไต่ปุยเมฆขาวฮ่ามเฮืองเหาะฮายอว่ายหน้า ซานเจ้าย่ามาเมืองก๋างปีกเหิงฝัดผัดมน
ตี่ปีกวีบนจ้อติพย์กวรเมือง (ดนตรี) ไก๋สรออนอ่อนซอนเหลือง
หงส์ฮ่อนเมือเมืองจ๋อมเจื่องสยองบิน หมู่มวลเตวดาอินตา ฟ้อนจุมจุ้มหล้าฟ้อนแอ่นแหง้นแหม้นดาว"
( ทำนองเก่าปุ่มเป้ง บทร้อง ศักดิ์ ส.รัตนชัย )
thanks ka :)
ตอบลบ