4 พฤศจิกายน 2551

2 ร่ำเปิงชีวิต เยื่อใยให้เห็นเมื่อยามไข้ (อัลบั้ม/ปรารภ A 2)





1 ร่ำเปิงชีวิต ปรารภเบื้องต้น
คำว่าร่ำเปิง หมายถึง รำพึง เป็นภาษาตระกุลไทยคนเมืองและคำจารึกสุโขทัยโบราณ
หวนสติร่ำเปิง ผู้เขียนขณะวัย 79 ปี 9 เดือน นับเกิดปีมะโรง พ.ศ.2471 ยุคปฏิทินปีใหม่นับปีเมษายน จุดประสงค์คอลัมน์นี้ เพื่อประมวลสิ่งรำพึงเรื่องราวต่างๆสู่มรดกความจำแห่งชีวิต
ร่ำเปิงชีวิตวัย 79 ปี 9 เดือน พฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม 2551 ณ โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง
ผู้เขียนเข้ามาแต่เช้าพร้อมภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากแห่งชีวิต คือแม่ทองสุข ของลูก 6 คน โดยทะเบียนผู้ป่วยทางเดินปัสสาวะ อย่างไม่คาดฝันว่า ผู้เขียนเกิดอาการหนาวสั่นฉับพลันเหมือนอาการไข้มาเลเลียซึ่งเคยเป็นแต่ สมัยเด็กชายสมศักดิ์ อายุ 10 ขวบ แพทย์พยาบาลห้องผู้ป่วยทางดินปัสสาวะ ต้องเบิกตัวแพทย์พยาบาลจากห้องอายุรกรรมอย่าง ฉุกเฉิน โดยพบอาการความดันต่ำสู่ขีดอันตราย.....
โดยมีแพทย์หญิงเบญจมาส เขียวชอุ่ม จากหน่วยอายุรกรรม มาช่วยปั้มหัวใจ .......
ทราบตอนหลังคืนสติจากตุ่ย ลูกชายรับโทรศัพย์จากบ้านว่า"แม่พูด
อย่างตื่นตระหนกตกใจ สะอึกสะอักไม่เป็นภาษาเลย.....
"คือขณะอาการผู้เขียนอยู่ในระหว่างปั้มหัวใจ มีคนไข้อาการคล้ายๆกัน
ในเตียงห้องเดียวกัน.......
......ถูกย้ายสู่เตียงเข็นไปห้องดับจิต... ร่ำเปิงสตินี้ ผู้เขียนเห็นใจแม่ทองสุขของลูกๆเพราะผู้ตายทุกรูปนามไม่มีโอกาสรู้เบื้องหลังระหว่าง "คนตาย" กับ"คนอยู่ "ตกอกใจตกหายอย่าง
ไร ต่อเรื่องอุบัติการณ์นี้...ผู้เขียน ทราบจากบันทึกรายงานแพทย์พยาบาลว่า "ผู้ป่วยมีอาการพูดไม่รู้เรื่อง ไม่ดื่มสุรา นับแต่เลข 1-2-3-4"ความดันปรกติผู้เขียนระหว่าง 120 ความดันขีดอันตราย คือระหว่าง 90-60 ความดันของผู้เขียนลดลงฉันพลันเหลือ 2 ขีดอันตราย ขณะที่ปั้มหัวใจจนหายจากอาการความดันแทก ผู้เขียนไม่เคยประสบเหตุการณ์เช่นนี้เลยในชีวิต.......

..ร่ำเปิงสติคิดถึงป้าระดมของเด็กๆ เรื่องตำนานคนตาย-เกิด สองครั้งจาก
ร่ำเปิงสติคิดของผู้เขียน .....
..ได้ตายแล้วเกิดใหม่ ณ โรงพยาบาลนี้ในวันที่พฤหัสบดีที่ 2 พ.ย.2551 โดยมีอนุสติตายเกิด
ได้สองครั้ง
โดยจำแนกลักษณะตายเกิดสองครั้ง 3 ลักษณะอาการคือ
ลักษณะอาการที่ 1 ; ตายเกิดจากโลงศพ ชีวิตเรื่องจริงที่อาจารย์สมพร เทพสิทธาเขียนไว้ในหนังสือเผยแพร่สภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์ ถึงนายเล้งที่อีสาน เสียชีวิตและฟื้นจากโลงศพ ระลึกหนหลังจำชีวิตอดีตชาติ บอกสิ่งไม่เคยรู้ก่อนตาลครั้งที่ ๑ ได้
ลักษณะอาการที่ ๒ คือเสวยชาติเกิดใหม่ จากตัวอย่างอดีตสกุลเจ้าหอคำหลวงนครลำปาง ฟื้นจากลักษณะนอน"ตายลืม" จากปากคำนายสุวรรณ รื่นยศอดีตผู้ว่าราชการ
จังหวัดลำปางรุ่นครึ่งศตวรรษก่อน ในโอกาสแสดงปาฐกถาเรื่องกรรม ณ โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด
ลำปางกัลยาณี เล่าถึงสตรีเชื้อสายเจ้าลำปางผู้หนึ่งเสวยชาติใหม่ระลึกอดีตชาติหลังอาการหลับใหล
ฟื้นสติเหมือนคนแก่มีอากัปกริยาภาษารุ่นเก่าละคน ได้นำพ่อแม่ไปเก็บทรัพย์มีค่าซ่อนในช่องข่เพดาน
จากเรือนโบราณได้อย่างถูกต้อง
ลักษณะอาการที่ ๓ ตายฟื้นในโอกาสหมอช่วยได้ทัน ; เรื่อง
ผู้เขียนถือเป็นการตายในวินาฑีที่มีหมอช่วยได้ทัน มีตัวอย่างเปรียบเทียบโดยเป็นสติรำลึกแวบในขณะอาหารป่วยครั้งนี้... ถึงอดีตนายกยุวพุทธศาสนิกสมาคมลำปาง ประธานศูนย์อบรมพุทธเยาวชน เสียชีวิต
ในวัย48 ปีวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2509 คือนางสาวระดม เสาจินดารัตน์ ด้วยโรคปัจจุบันความดันสูง ณ บ้านเสาจินดารัตน์ โดยเชื่อหมอพื้นบ้านที่เคยฝากเนื้อฝากไข้ ขาดทักษะอุปกรณ์ตรวจจับโรคความดัน
เสี้ยวชีวิตนั้น มิได้อยู่กับกับแพทย์พยาบาลช่วย
ได้ทันท่วงที ; ทำให้ได้ผลสรุปจากแม่เด็กและลูกว่า "ถ้าผู้เขียนขณะอาการไข้สูงความดันแทรกในวินาทีนั้นอยู่ที่บ้าน วันนี้คงเหลือแต่ชื่อ ผู้เขียนนึกถึงภาพน้องชายคือ สุรินทร์ รัตนชัย เคยร้องไห้สะอื้นตื่นฟูมฟายขณะเห็นพี่ชายยังมีชีวตนอนอยู่บนเตียงโรงพยาบาลยังไม่ตายตามข่าวเมื่อราวยี่สิบปีก่อน เข้าโรงพยายาบาลโดยอุบัติเหตุรถชนกระดูกเท้าขวาหัก เกิดข่าวลือว่า ศักดิ์ รัตนชัย ไปตายที่โรงพยาบาล สุรินทร์ เป็นน้องชายร่วมท้องมารดาเพียงคนเดียว ซึ่งต่อมาเขาก็เกิดตายก่อนด้วยโรคต่อมลูกหมากเป็นมะเร็ง อำไพ รัตนชัย น้องสไภ้ กับหลานๆคือเยื่อใยสุดท้ายเหลืออยู่ในสกุลเรา 2 พี่น้อง .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น