ส่งความสุขปีใหม่ ร่วมกองบรรณาธิการ ลำปาง-ลาสเวกัส แด่ชาวไทยและเพื่อนในสากลโลกทุกประเทศ
ซินเหนียนไคว่เหลอ ปี๋ใหม่ม่วนงัน Happy NewYear
รายงานส่งความสุขพร้อมข่าวปีใหม่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 ค.ศ.2009
กองบรรณาธิการ Lampang-Las Vegas Online ขอสกู้ปข่าวสำคัญ
ในรอบ 74 ปีแห่งยุทธากาศแถบยุทธภูมิลำปาง อินโดจีนเหนือ
กอง บก.ลำปาง sak_yonoknews@yanoo.com
โทรศัพท์สำนักงาน 054-217492
1 มค.2552 เวลา 08.57 น. วันนี้ เสียงกริ่งโทรศัพท์ดังขึ้น รศ.ดร.นิธิดา อดิภัทรนันท์ แห่งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาวิจัยแห่งชาติ ผู้เคยนำอาจารย์ชาวต่างประเทศติดตามเรื่องนักบินในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 แจ้งเรื่องมีชาวลำปางชื่อนายเมธา เกียรติพงษ์ ปัจจุบันอายุ 82 ปี เล่าประสบการณ์ สมัยสงครามเคยติดตามข่าวเครื่องบินอเมริกันแบบมัสแตงถูกญี่ปุ่นยิงตกเลยไปทางโรงเรียนเค็นเน็ตแม๊คเคนซี นักบินกระโดดร่มรอดชีวิต ชื่อเฮนรี่บินเกอร์ ข่าวพบเอกสารรายงาน เรื่องเครื่องบินแบบมัสแตงตก วันที่ 11 พ.ย.1944 ตรงกับ พ.ศ.2487 ด้วย
มีทีมงานติดตามประวัติศาสตร์นักบินสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 จากเชียงใหม่ติดต่อผู้เขียนผ่านไปทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ซึ่งมีอาจารย์สุรพงษ์ ภักดี เป็นคณบดี ในรอบปี 2551 มีสองกลุ่ม คือกลุ่ม มร.แฮก แฮกแคนนอน และกลุ่ม รศ.ดร.นิธิดา อดิภัทรนันท์ ผู้เขียนขอเวลาค้นคว้าหาคำตอบข้อมูลถามทางโทรศัพท์ โดยจะลงใน http://rampernglampang.blogspot.com/ หรือจะค้นผ่าน google พิมพ์ SAKYONOK เข้าหาร่ำเปิงลำปางก็ได้ หรือฟังข่าวประจำทุกวันอาทิตย์ รายการเสมาพัฒนา FM 97 Mhz สวท.ลำปาง ช่วง 20.30-21.00 น. มีอีกสื่อคือ คอลัมน์ประจำหนังสือพิมพ์รายวันไทยนิวส์ ทุกวันอังคารหน้า 9 อังคารแรกปีใหม่นี้คงต้องเริ่มในวันที่ 6 มกราคม 2552 เป็นสกุ้ปข่าวศึกษาค้นคว้าสำคัญรอบ 74 ปี โดยWeb Site ร่ำเปิงลำปาง ฉบับรายงานวันที่ 20 ธ.ค.2551 ตอน 17 ร่ำเปิงสาระ ปศส.ยุทธเวหาศึกษา ได้ลงเรื่องเกี่ยวกับเครื่องบินมัสแตง พร้อมแผนยุทธเวหาจากผลสอบสวนนักบินที่ยังเหลือชีวิตทำแผน ณ ศาลากลางจังหวัดลำปาง 11 ธ.ค.2533 เป็นเรื่องนักบินตายไม่ทราบชื่อ จวบเวลาผ่านมา 74 ปี เพิ่งทราบเป็นสกู้ป เสนอรับศกใหม่ ณ ที่นี้ ตามเอกสารรายงานดังนี้
ข้อมูลข่าวสาร Mr.Hak Hakannon จาก Cleveland magazine.com
Fallen Tiger ; On Nov.11.1944 10 minutes after noon. Second Lt Henry Francis Minco. a Clevelander in the United State Army Air Corps, is fling over central Thailand . searching for enemy rail traffic, when he sights three Japanese aircraff flying toword his flight of four fighters of the 25th Fighters Squadron .......Minco is never seen again .......
จากข้อมูลคลิฟแลนด์ แม็กกาซิน ออนไลน์ ยุทธเวหา 11 พ.ย.2487 บันทึกกองทัพอากาศอเมริกันยังเข้าใจว่าฝู'ขับไล่ไทยคือฝูงบินขับไล่ของญี่ปุ่น และเหตุการณ์วันนั้นเองที่เรืออากาศโท Henry Francis Minc0 บินตามติดฝูงบินญี่ปุ่นสามเครื่อง (แหวกกลุ่มเมฆลงเบื้องล่าง)
แล้ว ก็ไม่เห็นมินโกเลย
แผนยุทธากาศตามพยานนักบินไทยที่เหลือชีวิตบอกเล่า ดังภาพหลังปก คู่มือ ปศส.จึงลำดับ
เหตุการณ์ได้ว่า ฝูงขับไล่ไทย 5 เครื่อง เมื่อประจัญกับฝูงบินสัมพันธมิตร ของไทยถูกยิงตกไฟ
ไฟไหม้ นักบินกระโดดร่มหลังถูกไฟครอกในเครื่อง คือจ่าอากาศเอก วาสน์ สุนทรโกมล ตายที่โรงพยาบาลวิชิตสงคราม อีกเครื่องของท่าน ผบ.ฝูงขับไล่ที่ 15 นาวาตรี เฉลิมเกียรติ วัฒนาง
กูลถูกยิงเครื่องไหม้ต้องร่อนลงสนามบิน ท่านเฉลิมเกียรติทันลงจากเครื่อง ก่อนไฟลามระเบิดกลางสนามรอดชีวิตมาได้ จึงเหลือเพียงฝูงขับไล่ไทยสามเครื่องบนอากาศ
มีรายงานฝ่ายนักบินอเมริกันว่าได้ยินเสียงรายงานเฮนรี่ ฟลานซีส มินโก ขับเครื่องมัสแตงขณะ
เอียงปีกดิ่งตามฝ่า กลุ่มเมฆ "ฉันเห็นมันสองลำข้างล่าง จะตามลงไป"เป็นเสียงและภาพที่ได้เห็นครั้งสุดท้ายของ มินโก ในรายงานฝูงบินไทเกอร์ 14
ภาพวาดตามคำบอก นต.จุลดิส แผนยุทธากาศหลังปก ปศส.2487 จึงต่อเชื่อมได้ว่า ขณะที่เครื่องขับไล่โอตะของ นท.คำรบ เปล่งขำ ซึ่งมีความเร็วสูงสุดเพียง 462 กม./ชม เห็นว่าตนตกเป็นเบี้ยล่างความสูง จึงดิ่งลงหาเป้ากำแพงดอยฝรั่งม่อนพระยาแช่ เมื่อเครื่องมัสแตง ซึ่งมีความเร็วถึง703กม./ชม.บินตามไล่หลังก็ต้องเลยไปข้างหน้า ลอดใต้ท้องเครื่องโอตะ ไทย มินโก คงตกใจที่พบเป้ากำแพงดอยฝรั่งขวางทมึนอยู่เบื้องหน้า เลยต้องดึงขึ้นผ่านเป้าศูนย์เล็งของ นักบินคำรบ เปล่งขำ เขากดไก ปตอ.ทันใด ทันเห็น นักบินเครื่องมัสแตงผงะสดุ้งคาที่นั่งขับเครื่องมัสแตง ก่อนพลิกร่วงลงเบื้องล่าง ณ บริเวณป่าหน้าม่อนพระยาแช่นั้นเอง
รายงานกองทัพอากาศอเมริกัน ถึงเครืองมัสแตงของมินโกมิได้บินกลับฐานทัพ ..แต่ก็มีรายงานอันน่าสลดหดหู่ใจจากแม่บังเกิดเกล้า ของ Minco เมื่อทางราชการมิได้แจ้งรายละเอียดผลสาปสูญของลูกชาย ลูกก็ยังเชื่อว่า สักวันหนึ่งมินโกลูกรัก คงได้กลับมา ตลอดชีวิตแห่งแม่วัย 96 ปี.(Cleveland Magazin.com).
หนังสือคู่มือ ปศส.ยุทธเวหาลำปาง 2487 พิมพ์ พ.ศ.2533 กับหนังสือ 100 ปี KMS
อดีตวิศวกรชาวอเมริกันผู้ติดตามข้อมูลเกี่ยวพันผลกระทบระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ กับ ผอ.โครงการนิตยสารฝาผนัง เฉลิมพระเกียรติ ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กับ อาจารย์สุรพงษ์ ภักดี คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้ใช้หนังสือคู่มือ ปศส.ยุทธเวหาลำปาง 2487 เทียบเอกสารข้อมูลผลกระทบแห่งสงครามทางอากาศ ปฏิบัติการณ์ฝูงบิน Tiger 14th. เหตุการณ์ยุทธเวหาลำปาง เสาร์ 11 พฤศจิกายน 2487
จุลสารคู่มือนักท่องเดินทางสู่นครลำปางทางอากาศ
ผังการ์ตูน ศักดิ์ ส เพื่ออธิบายปริมฑลเหตุการณ์ยุทธเวหา เสาร์ 11 พ.ย.2487 กับเส้นทางท่องเที่ยวทางยุทธศาสตร์สมัยสงครามทางอากาศ เริ่มใช้กับแผนท่องเที่ยวทางอากาศร่วมวันประวัติศาสตร์รถไฟรถม้าทางหลวง เริ่มจารึกทางอากาศโดยเครื่องบินแบบเซสน่า นางสาวลำปาง 1 จารึกวันวีรกรรมอดีตนายตำรวจหลวงชาวเด็นมารค์ สมัย ร.๕ ห้านักบินยุทธเวหาลำปาง ๒๔๘๗ สมัย ร.๘ โครงการร่วมมือวันจารึกประวัติศาสตร์ทางอากาศ ระหว่างสมาคมชาวเหนือลาสเวกัส-ปศส.ลำปาง 1 เมย.2545
ผังท่องเที่ยวตำนานยุทธศาสตร์ฝูงบินพันธมิตรโจมตีนครลำปาง
จากงานสืบสอบแผนยุทธศาสตร์ใต้ดินเสรีไทยโรงน้ำตาลเกาะคา
วันต้อนรับอดีตนักบินยุทธเวหา น.ต.จุลดิส เดชกุญชร ที่ยังเหลือชีวิตอยู่ ที่โรงแรมทิพย์ช้างลำปาง 11-13 ธ.ค.2533 โดยมี นายภุชงค์ พิมพ์ใจชน กฟผ.แม่เมาะ ลำปาง นต.จุลดิส เดชกุญชร และ ศักดิ์ ส.รัตนชัย หัวหน้าประสานงาน คณะ ปศส.ลำปาง
* คู่มือ ปศส.หน้า 78 บทที่ 34 ผบ.สฤษดิ์ในบทบาทวัน P 38 ถูกยิงตก เหตุการณ์ครั้งนั้น พ.ท.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ชาตะ2456-มรณะ2506)ผบ.กรมทหารราบที่ 13 นั่งรถออสตินเก๋งสีดำ โดยมีพลขับชื่อกวาง สกุลไทย ขับสู่จุดรับตัวนักบินก่อนที่ทหารญี่ปุ่นจะตามไปถึงที่ มีรายงานผู้เกี่ยวข้องว่า ผบ.สฤษดิ์ ได้นำตัวนักบินไปตามเส้นทาง อ.ห้างฉัตรสู่วัดพระธาตุลำปางหลวง และพบตัวพ่อเลี้ยงน้อยซาวบ้านท่าผา นำส่งเสรีไทยที่โรงงานน้ำตาลไทยเกาะคา
* บทบาทของ ผบ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในกรณีแย่งตัวเชลยศึกนักบินครั้งนี้ จึงนับเป็นส่วนสนับสนุนแผนใต้ดินเสรีไทยในลำปาง
* หมายเหตุ พึงเข้าใจสถานการณ์ยามกฏอัยการศึกว่า เมื่อโรงพยาบาลของมิชชั่นนารี และหมอโรงพยาบาลมิชชั่นนารี แวนแซนต์วูรดิ์ พร้อม หมอตวงธรรม ผอ.ถูกยึดโอนขึ้นการบังคับบัญชาของกองทัพพายัพเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลวิชิตสงคราม ที่มีพาหณะปลอดจากการถูกยึดใช้ในราชการทหาร หมอตัวธรรมจึงมีโอกาสใช้รถโรงพยาบาลพิชิตสงคราม ร่วมแผนใต้ดิน เสรีไทยโรงงานน้ำตาลเกาะคา
ลำปางกับเหตุการณ์ญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินประวัติศาสตร์ยุทธเวหาลำปาง หน้า 128 ตอน 84
ภาพ นพ.ตวงธรรม สุริยะคำ (เกิด2451-ตาย2533)อดีต ผอ.รพ.แวนแซนวูร์ด ต่อมาโดยอัยการศึกสมัยสงคราม กองทัพพายัพได้ตั้งเป็น ผอ.รพ.วิชิตสงคราม ผู้มีเบื้องหลังเบื้องลึกในการรักษาพยาบาลนักบินและนักรบไทย และได้ช่วยเชลยศึกนักบินอเมริกันที่กระโดดร่มดำดินหนีร่วมแผนใต้ดิน ร.พัน สฤษดิ์ ธนะรัชต์
แบบเครื่องบินยุทธเวหา จาก ศักดิ์ (ส)รัตนชัย คู่มือ ปศส.ยุทธเวหาลำปาง2487 พิมพ์ พ.ศ.2533 หน้า 41 แบบเครื่องบินตามลำดับภาพเส้นประกอบ
*แบบที่ 13 P 38 (ไลท์นิ่ง)บ.ล๊อคฮิต แอร์คราฟท์ ชนิดขับไล่ต่อสู้ แบบสองลำตัวฯลฯอาวุธปืนใหญ่อากาศ20 มม.1กระบอก ปืนกลอากาศ 12.7 มม.4 กระบอก ลูกระเบิดหนัก 900 กก.ความเร็วสูงสุด 636 กม./ชม.
*แบบที่ 14 P.51 (มัสแตง) บ.นอร์ท อเมริกันอวิเอชั่น ชนิดขับไล่ต่อสู้ อาวุธปืนใหญ่อากาศขนาด 20 มม. 4 กระบอก หรือ ปืนกลอากาศ12.7 มม. 6 กระบอก ลูกระเบิดหนัก 907 กก.ความเร็ว 703 กม./ชม.
* แบบที่ 15 P.40 C (โทมาฮอว์ค) ซี.บี.เคอร์ติส แบบชนิดขับไล่ ติดปืนกลอากาศที่ปีก ข้างละ 2 กระบอก ที่ส่วนหัว 2 กระบอก รวมเป็น 6 กระบอก บันทุกลูกระเบิดได้ 225 กก. ความเร็ว 566 กม./ชม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น